ท้องผูก เสี่ยงอุดตันลำไส้ แก้ได้ด้วย “ไฟเบอร์”

Last updated: 27 ส.ค. 2562  |  3550 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ท้องผูก เสี่ยงอุดตันลำไส้ แก้ได้ด้วย “ไฟเบอร์”

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย จะเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งแสนลำบากเรียกว่าต้องเบ่งกันจนหน้ามืด ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว ท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด


เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน


ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง ?

ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก การออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น

  • ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
  • ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
  • ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
  • ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ


 เมื่อผูกได้ ก็แก้ได้ ด้วยวิธีธรรมชาติ

50% ของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตซึ่งได้แก่

  • รับประทานอาหารที่มีกากใย หรือ ไฟเบอร์( Fiber ) มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น
  • รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย
  • ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย
  • ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น


 ผัก ผลไม้ ที่ให้ ไฟเบอร์ ( Fiber ) สูง

1. ถั่ว (Nut) เช่น ถั่งแดง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง

2. ธัญพืช (Grain) ธัญพืชไม่ขัดสีทุกชนิด ข้าวกล้องดอย ข้าวหอมนิล  ข้าวสินเหล็ก

3. ผัก (Vegetable) แครอท ข้าวโพด บล็อคโคลี ผักโขม

4. ผลไม้(Fruit) มะละกอ กล้วย ส้ม แอปเปิ้ล อะโวคาโด ฝรั่ง มะม่วง

 
การกินผักผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างน้อยวันละ 400 ซึ่งเท่ากับ ผัก 3 ส่วน ผลไม้ 2 ส่วน เส้นใย หรือ ไฟเบอร์ในผัก ผลไม้ มีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย อย่างไรก็ดี ควรดูแลรักษาสุขภาพและรับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก สสส.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้